เมนู

พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว, กิเลสที่ข่มแล้ว, รู้ซึ่งกิเลส
ทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน.
บุคคลพิจารณาเห็นหทยวัตถุ ฯลฯ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
อาโปธาตุ ฯลฯ กวฬีการาหาร โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสย่อม
เกิดขึ้น.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ด้วย
เจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ, อากิญจัญญา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโต-
ปริยญาณ, แก่ปุพเพนิเวสานุสสติญาณ, แก่ยถากัมมูปคญาณ, แก่อนาคตังส-
ญาณ, แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

3. อธิปติปัจจัย


[235] 1. สัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคล ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ
โผฏฐัพพะทั้งหลายให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้น
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

2. อัปปฏฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อํานาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้ว กระทำกุศลกรรมนั้นให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาล
ก่อน ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
พิจารณา.
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้ว กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ฯลฯ.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำหทยวัตถุ ฯลฯ
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อาโปธาตุ ฯลฯ กวฬีการาหารให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำหทยวัตถุเป็นต้นนั้นให้อารมณ์อย่างหนัก
แน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

3. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
คือ อธิปติธรรมที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ที่เป็นสัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
4. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปฏิฆธรรม และ
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นสัปปฏิฆธรรม และอัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย

4. อนันตรปัจจัย


[236] 1. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ที่เกิดก่อน ๆ ฯลฯ เป็นปัจจัย
แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย


[237] 1. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของสมนันตรปัจจัย